กิจกรรม 20-24 ธ.ค. 2553

ตอบ  3
เพราะ 
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต  ซึ่งสิ่งแวดล้อมจัดเป็นปัจจัยที่ไม่มีชีวิต  สิ่งแวดล้อที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต  ได้แก่
  1. แสง   
  2. อุณหภูมิ
  3. น้ำ 
  4. ดินและแร่ธาตุในดิน
  5. อากาศ
แสง  เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด  เช่น
  1. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
  2. การหุบและบานของดอกและใบของพืชหลายชนิด เช่น ใบไมยราบ  ใบกระถิน
  3. มีอิทธิพลต่อเวลาการออกอาหารของสัตว์
อุณหภูมิ  เป็นปัจัยสำคัญที่มีอิธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายประการ  เช่น
  1. อุณหภูมิมีผลต่อการหุบและบานของดอกไม้บางชนิด  เช่น  ดอกบัวจะบานตอนกลางวันและจะหุบในตอนกลางคืน
  2. อุณหภูมิมีผลต่อพฤติกรรมบางประการของสัตว์  เช่น  การจำศีลมนฤดูหนาวของหมีขั้วโลก
  3. อุณหภูมิมีผลต่อลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต  เช่น  สัตว์ในเขตหนาวจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสัตว์ในเขตร้อน  หรือสัตว์บางชนิดที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนหนากว่าสัตว์ในเขตร้อน
ที่มา  :  http://eduvc.oas.psu.ac.th/~user18/content%202.html




ตอบ  2
เพราะ  กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (อังกฤษ: Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่ารา
การใช้ประโยชน์
เราใช้ประโยชน์กำมะถันในอุตสาหกรรมได้มากมาย ผ่านทางอนุพนธ์ของมันคือ กรดซัลฟิวริก (H2SO4), กำมะถันถูกจัดให้เป็นหนึ่งในธาตุที่มีความสำคัญในการเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมมาก อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลก
การผลิตกรดซัลฟิวริก ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ปลายทางหลักของธาตุกำมะถัน และการบริโภคกรดซัลฟิวริก ถือเป็นดรรชนีชี้วัดที่ดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ ในสหรัฐอเมริกามีการผลิตกรดซัลฟูริกมากกว่าสารเคมีอื่น ประโยชน์ของมันพอสรุปได้ดังนี้

[แก้] สารประกอบของกำมะถัน

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) หรือ ก๊าซไข่เน่า มีกลิ่นเหม็นมาก ตัวมันเองมีฤทธิ์เป็นกรด ทำปฏิกิริยากับโลหะได้โลหะซัลไฟด์ ถ้าเป็นซัลไฟด์ของเหล็กเรียก ไพไรต์ หรือ ทองของคนโง่ (fool's gold) มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำFeS
กลิ่นเหม็นที่ไม่พึงปรารถนาของสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น
  • เอตทิล และ เมตทิล เมอร์แคปแทน ใช้ผสมในก๊าซธรรมชาติเพื่อการตรวจสอบว่ามีก๊าซรั่วหรือไม่
  • กลิ่นของกระเทียม และตัวสกังก์ ก็เกิดจากสารประกอบอินทรีย์ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่
ที่มา  : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%99



ตอบ  3
เพราะ  

>>> การตรวจสอบมลพิษทางน้ำ <<<

                     ในการตรวจสอบมลพิษทางน้ำต้องศึกษาคุณภาพของน้ำ เพื่อจัดจำแนกน้ำว่ามีคุณภาพระดับใด จึงจำเป็นต้องมีดัชนีหรือตัวชี้วัด
ในการจัดจำแนก ดังนี้
                       1. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านชีววิทยา( Biological quality ) ได้แก่ปริมาณจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในน้ำ เช่น แบคทีเรียกลุ่ม
โคลิฟร์อม หรือ ฟิคัลโคลิฟร์อม
                       2. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านเคมี ( Chemical quality ) ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ( Dissolved Oxygen : DO )
ความสกปรกอยู่ในรูปของอินทรีย์สาร ( Biological Oxygen Demand : BOD ) ความเป็นกรดด่าง ( pH ) ของธาตุและสารประกอบต่างๆ ในน้ำ
                       3. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านกายภาพ ( Physical quality ) ได้แก่ ลักษณะของ สี กลิ่น ความขุ่น อุณหภูมิ การนำไฟฟ้า
สารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำ ฯลฯ
การตรวจสอบมลพิษทางน้ำ สามารถหาได้ ดังนี้                        1. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือ ดีโอ ( Dissolved oxygen: DO)                          ออกซิเจนเป็นปัจจัยที่นับว่ามีความสำคัญมากที่สุดในการดำรงชีวิต      เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน
ในกระบวนการต่างๆ     ของร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต    ถ้าหากมีออกซิเจนในปริมาณมากหรือน้อยเกินไป     สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้     โดยปกติออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้มาจากบรรยากาศ    และการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ      ปริมาณออกซิเจน
ที่ละลายในน้ำจะแปรผกผันกับอุณหภูมิ และความเข้มข้นของแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ ถ้าหากอุณหภูมิและความเข้มข้นของแร่ธาตุในน้ำสูง จะทำให้ออกซิเจนจะละลายในน้ำได้น้อยลง     น้ำในธรรมชาติทั่วไป ปกติจะมีค่าดีโอ   ประมาณ 5-7 มิลลิกรัมต่อลิตร    ถ้าค่าดีโอต่ำกว่า
3 มิลลิกรัมต่อ ลิตร จัดว่าน้ำในแหล่งนั้นเน่าเสีย
                       การหาค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำทำได้โดยการนำน้ำมาวิเคราะห์ออกซิเจนปัจจุบันวิธีวิเคราะห์ออกซิเจนที่นิยมปฏิบัติกัน
มีอยู่ 2 วิธีคือ   การไทเทรต( titration )   และใช้เครื่องวัดออกซิเจน ( oxygen meter )   สำหรับการไทเทรต ใช้หลักการที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาในน้ำ
ตัวอย่างที่จะตรวจสอบแล้วเกิดเป็นไอโอดีน ซึ่งปริมาณของไอโอดีนที่เกิดขึ้นจะเท่ากับปริมาณของออกซิเจนที่มีอยู่ในตัวย่างนั้น วิธีที่นิยมมากที่สุด คือ วิธีการ Winkler ซึ่งปัจจุบันได้ดัดแปลงให้สามารถใช้วิเคราะห์ในน้ำสภาพต่างๆ กันสำหรับการใช้เครื่องมือนั้นนับว่าสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีตัวอย่างน้ำที่ต้องการวิเคราะห์เป็นจำนวนมาก หรือเมื่อต้องการวัดปริมาณออกซิเจนในระดับความลึกต่างๆ กันในแม่น้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งสามารถอ่านค่าได้ทันที
ที่มา  :  http://www.krumonbs.ob.tc/html/043.html




ตอบ  1
เพราะ  ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง


2 ความคิดเห็น:

  1. 1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนเต็ม 120 คะแนน ได้คะแนน 115 คะเเนน

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนรวมที่ได้ลงในช่องแสดงความคิดเห็นใต้เพจกิจกรรมแต่ละสัปดาห์


    คะแนนเต็ม 120 คะแนน
    ให้คะแนนตัวเอง 119.99 คะแนน

    ตอบลบ