กิจกรรม 13-17 ธ.ค. 2553

 ตอบ 4
เพราะ  จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (เทคนิกการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบหลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิด ทั้งที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร




 ตอบ  2
เพราะ    แอลลีล (Allele) คือยีนที่ประกอบหรือยีนที่อยู่กันเป็นคู่กันเฉพาะลักษณะหนึ่ง ๆ เป็นยีนที่อยู่บนตำแหน่ง
เดียวกันของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน เช่น
T เป็นแอลลีล กับ t แต่ไม่เป็น แอลลีลกับ S หรือ s ซึ่งควบคุมลักษณะ
อื่น ลักษณะใดที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 1 คู่จะเรียกว่า
multiple alleles

      Dominant Allele หมายถึงแอลลีลที่แสดงลักษณะให้เห็นได้ทั้งในสภาพที่เป็น homozygote และ heterozygote
         Recessive Allele หมายถึงแอลลีลที่จะแสดงลักษณะให้ปรากฏได้ก็ต่อเมื่อเป็น homozygote เท่านั้น





 ตอบ  2
เพราะ  
โครโมโซม (chromosome) เป็นที่อยู่ของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว
การศึกษาลักษณะโครโมโซม จะต้องอาศัยการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยายสูงๆ จึงจะสามารถ มองเห็นรายละเอียดของโครโมโซมได้
หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (อังกฤษ: Gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรม จะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิต รุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนที่เกี่ยวกับกิจกรรมทั่ว ๆ ไปทางชีวเคมีภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่มีบางส่วนเหมือนกับแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น




 ตอบ  1
เพราะ   



ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
   เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloid แกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว




ตอบ   1
เพราะ  ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ ไบรโอไฟต์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง       



2 ความคิดเห็น:

  1. 1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนเต็ม 150 คะแนน ได้คะแนน 140 คะแนน

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนรวมที่ได้ลงในช่องแสดงความคิดเห็นใต้เพจกิจกรรมแต่ละสัปดาห์


    คะแนนเต็ม 150 คะแนน
    ให้คะแนนตัวเอง 140 คะแนน

    ตอบลบ